ปัจจุบันสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยที่ไม่ใช่อุบัติเหตุแต่มาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงเป็นอันดับ 2 และจากตัวเลขจากกระทรวงสาธารณสุขยังบ่งชี้ด้วยว่า ในช่วงระยะ 10 ปี ที่ผ่านมาคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) กว่า 3 หมื่นคน คิดเป็นเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 4 คน และมีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ “โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน” เป็นโรคที่ปัจจุบันคนไทยมีอัตราการเกิดโรคนี้มากที่สุดและเป็นสาเหตุของการตายอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย
หัวใจ เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่สำคัญ คือ การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หัวใจทำให้โลหิตไหลเวียนนำออกซิเจนจากอากาศจากปอดไปเลี้ยงเซลล์ทุกชนิดทางหลอดเลือดแดง (Artery) และนำคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ของร่างกายกลับมาทางหลอดเลือดดำ (Vein) เพื่อปล่อยออกไปพร้อมกับลมหายใจออก ทั้งนี้หัวใจจะทำหน้าที่ร่วมกับปอดเสมอ หัวใจเองก็ต้องการเลือดไปเลี้ยงเซลล์ของหัวใจเช่นกัน โดยหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเรียกว่า Coronary artery ซึ่งเป็นแขนงแยกออกมาจากท่อเลือดแดงใหญ่ Aorta ทั้งนี้ส่วนต้นของหลอดเลือดหัวใจจะแยกเป็นสาขา ซ้าย ขวา หน้า หลัง ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของหัวใจ ซึ่งถ้าหลอดเลือดเหล่านี้ มีการอุดตัน จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction)
อาการเบื้องต้น
- มีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกายอย่างผิดปกติ เป็นเพราะว่าหัวใจทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำงานหนักมากขึ้นกว่าปกติ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
- เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะรู้สึกเหมือนหายใจอึดอัดและแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายๆมีของหนักทับอยู่โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก
- มีอาการหอบจนตัวโยน หากไม่รีบพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการนี้อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
- ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นสม่ำเสมอประมาณ 60-100 ครั้ง/นาทีแต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง 150-250 ครั้ง/นาที
- เป็นลมหมดสติอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากจังวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอเพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอจนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้
- ขาหรือเท้าบวม โดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋ม ตามนิ้วที่กดลงไป
- ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ แสดงให้เห็นว่าทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับ
ห้องซ้าย มีการเชื่อมต่ออย่างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมปนเปของเลือดแดงกับเลือดดำ
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด เมื่อหลอดเลือดอุดตันจะไม่สามารถสูบฉีดเลือด เพื่อส่งสารอาหารไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ และเมื่อเวลาผ่านไป การอุดตันของเส้นเลือดก็ยิ่งเริ่มมีมากขึ้น หลอดเลือดต่าง ๆ ของหัวใจก็จะเริ่มหนาและแข็งขึ้นจนเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
- ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจต้องรับภาระที่หนักหนามากขึ้น เนื่องจากหัวใจจำเป็นต้องใช้พลังมากมายในการสูบฉีดโลหิต
- คอเลสเตอรอล เมื่อร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูงสะสมเป็นเวลานาน จะเกิดการอุดตันของหลอดเลือดจนเป็นสาเหตุของการเป็นโรคหัวใจ
- โรคอ้วน มีความสัมพันธ์ โดยตรงกับความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลสูง ผู้ป่าวยที่เป็นโรคอ้วนจะมีหัวใจที่ต้องรับภาระหนักขึ้น ในการสูบฉีดโลหิตมากกว่าคนธรรมดาหลายเท่า
- โรคเบาหวาน ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจด้วยจากสถิติแสดงให้เห็นว่า 30% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมักจะเสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจ
- การสูบบุหรี่ เป็นอันตรายต่อหัวใจเนื่องจากทำให้หลอดเลือดตีบตัน มีรายงานทางการแพทย์แสดงให้เห็นอีกว่าควันบุหรี่ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำงานหนักขึ้น และอุดตันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
- ความเครียด เนื่องด้วยเวลาที่รู้สึกเครียด หัวใจจะเต้นแรงขึ้น จึงเป็นอีกปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
- ไม่ออกกำลังกาย มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
แนวทางป้องกันการเกิดโรค
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุการเกิดโรคนี้ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยที่หลีกเลี้ยงไม่ได้ เช่น อายุ เพศ และพันธุกรรม แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอักหลายอย่างที่มาจากพฤติกรรมของเราเอง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของเราก็ถือเป็นการป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ ยกตัวอย่างตามแนวทางด้านล่างนี้
- การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมันสูง เน้นการรับประทานผักและผลไม้ รวมถึงลดอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือหวานจัด
- จำกัดการรับประทานอาหารให้ได้พลังงานที่เหมาะสมต่อร่างกายในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมตามร่างกาย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงหมั่นขยับร่างกาย ให้ร่างกายได้เกิดการเคลื่อนไหว
- งดการสูบบุหรี่
- ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เพื่อเป็นการลดความเครียด
นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรคหัวและหลอดเลือดเพิ่มเข้าไป ก็เป็นอีกหนึ่งการป้องกันที่มีประโยชน์
กรดอะมิโน ชนิด ทอรีน เป็นสารอาหารที่ได้รับการวิจัยว่ามีส่วนช่วยในการรักษาและป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มหัวใจและหลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจมีทอรีนอยู่มากกว่า 50% ของกรดอะมิโนอิสระในหัวใจ ทอรีนจะกระตุ้นการทำงาน (positive inotropic) ต่อกล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงช่วยลดความดันโลหิต โดยทอรีนจะช่วยควบคุมปริมาณของแคลเซียมในหัวใจให้เหมาะสม จึงช่วยให้หัวใจยังทำงานได้ปกติแม้ในสภาวะที่มีปริมาณแคลเซียมมากหรือน้อยไป
ทอรีนยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทอรีนจะไปรวมตัวกับกรดน้ำดีเกิดเป็นเกลือน้ำดี (bile salt) ที่มีหน้าที่จัดตัวกับคอเลสเตอรอลแล้วขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ ไม่เพียงเท่านี้จากการวิจัยระบุว่า ปริมาณของทอรีนในพลาสมาและเกล็ดเลือดมีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน โดยในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีทอรีนในพลาสมาและเกล็ดเลือดต่ำกว่าคนปกติ
ผลิตภัณฑ์ อะมิโน โปรมิกซ์ พลัส (AMINO PROMIX PLUS) เป็นอาหารเสริมที่มี ทอรีน เป็นส่วนผสมหลัก เกรดสูงสุดนำเข้าจากต่างประเทศ รวมไว้กับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของทอรีน เพื่อให้การทำงานของทอรีนมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงยังมีกรดอะมิโนที่สำคัญชนิดอื่น ๆ รวมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลร่างกายให้ครอบคลุมในด้านอื่น ๆ อีกด้วย
อ้างอิง
- บทบาทของทอรีนในโภชนบำบัด (วารสารโภชนบำบัด, 2548)
- http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/850/Coronaryheartdisease
- https://www.paolohospital.com/th-TH/phrapradaeng/Article/Details/Uncategorized/โรคหัวใจและหลอดเลือด