amino acid

หลายคนอาจไม่รู้จักว่า “กรดอะมิโน” นั้นคืออะไร และมีความสำคัญเกี่ยวข้องอย่างไรกับร่างกายของเรา โดยปกติคนส่วนใหญ่จะรู้จัก “โปรตีน” ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ในเรื่องของการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กรดอะมิโน หรือ Amino Acid นั้นแท้จริงแล้ว ก็คือ หน่วยเล็กที่สุดของโปรตีน กรดอะมิโนประกอบด้วยอะตอมของไนโตรเจน (N) อย่างน้อย 1 อะตอม โดยเมื่อเรารับประทานอาหารประเภทโปรตีนเข้าไปแล้ว ร่างกายของเราจะย่อยโปรตีนเหล่านั้นให้มีขนาดเล็กลง จนเหลือเป็นโมเลกุลที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้เพื่อนำไปใช้งานในกระบวนการอื่น ๆ ของร่างกายต่อไป พูดง่าย ๆ ก็คือ กรดอะมิโนเป็นโปรตีนที่ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กที่สุด เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้นั่นเอง

รูปโครงสร้างโดยย่อของ กรดอะมิโน เปปไทด์ และโปรตีน

รู้จักกับกรดอะมิโนมากยิ่งขึ้น

เมื่อขึ้นชื่อว่ากรด หลายคนอาจคิดว่าจะต้องมีลักษณะทางกายภาพมีรสเปรี้ยวเหมือนกับผลไม้ที่เป็นกรดชนิดอื่นทั่วไป แต่ความจริงแล้วกรดอะมิโนมีทั้งชนิดที่เป็น กรด กลาง และเบส ขึ้นอยู่กับหมู่ฟังก์ชั่นที่เกาะอยู่ที่ตำแหน่ง a-cabon

รูปโครงสร้างทางเคมีของกรดอะมิโน

นอกจาก น้ำและไขมัน แล้ว ร่างกายของมนุษย์เกือบทั้งหมดเป็นโปรตีน โปรตีนเป็นส่วนประกอบของ กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะ ผิวหนัง และเล็บ ซึ่งหากไม่รวมส่วนประกอบของน้ำ กล้ามเนื้อจะประกอบไปด้วยโปรตีน ถึง 80%   

รูปส่วนประกอบของร่างกาย
(รูปจาก https://www.otsuka.co.jp/en/nutraceutical/about/nutrition/sports-nutrition/essential-nutrients/proteins.html)

อย่างที่ทราบกันแล้วว่า กรดอะมิโนคือรูปโมเลกุลย่อยของโปรตีน ร่างกายจะดึงกรดอะมิโนมาสร้างเนื้อเยื่อ ฮอร์โมน หรือเอนไซม์ โดย 95% ของฮอร์โมน เป็น กรดอะมิโนและโปรตีน 100% เป็นกรดอะมิโน อาจพูดได้ว่ากรดอะมิโนควบคุมและมีส่วนร่วมในทุกปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย โดยหน้าที่หลักของกรดอะมิโนอาจแบ่งได้เป็น

  1. เป็นส่วนประกอบของการสร้างเซลล์ เนื้อเยื่อต่าง ๆ และช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอของร่างกาย
  2. เป็นส่วนประกอบของเอ็นไซม์และฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
  3. เป็นตัวช่วยในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
  4. เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย จำเป็นสำหรับการไหลเวียนของเลือด
รูปกระบวนการย่อยโปรตีนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
(รูปจาก https://www.otsuka.co.jp/en/nutraceutical/about/nutrition/sports-nutrition/essential-nutrients/proteins.html)

ร่างกายของเราจะไม่สามารถเก็บกักกรดอะมิโนไว้เป็นพลังงานเหมือนที่เก็บน้ำตาลไว้ในร่างกายได้ ดังนั้น กรดอะมิโนที่เกินมาก็จะถูกกำจัด โดยส่วนที่เป็นไนโตรเจนจะถูกขับออกในรูปของยูเรียในปัสสาวะ สำหรับส่วนอื่น ๆ จะถูกร่างกายเปลี่ยนเป็นให้เป็นพลังงาน

ประเภทและประโยชน์ของกรดอะมิโน

โดยปกติกรดอะมิโนมาตรฐานจะมีทั้งหมด 20 ชนิด แบ่งเป็น กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองต้องได้จากอาหารที่รับประทานเข้ามาเท่านั้น และ กรดอะมิโนไม่จำเป็นอีก 11 ชนิด ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ร่ายกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง แต่ในความเป็นจริงแล้วชนิดกรดอะมิโนมีมากกว่านั้น โดยจะมีกรดอะมิโนเพิ่มเติมที่พบบ่อยและมีประโยชน์อย่างมากกับร่างกายอีก 3 ชนิดด้วยกัน

รูปแสดงกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด
(รูปจาก https://myndandbody.com/everything-you-need-to-know-about-the-9-essential-amino-acids/)

กรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid) 9 ชนิด

กรดอะมิโนหน้าที่ผลการขาด
ไลซีน (Lysine)– ช่วยสร้างคอลลาเจน
– เพิ่มความแข็งแรงของเส้นผม และเล็บ
– เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
– ป้องกัน และรักษาโรคเริม
– ร่างกายอ่อนเพลีย ตาลาย วิงเวียนศรีษะ
– โลหิตจาง
– ติดเชื้อไวรัสได้ง่าย
เมทไทโอนีน (Methionine)– ป้องกันไขมันสะสมในตับ
– ป้องกันโรคซึมเศร้า
– อาการซึมเศร้า
– ภูมิต้านทานลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
– แผลที่ผิวหนังหายช้ากว่าปกติ
ทริปโทเฟน (Tryptophan)– ช่วยสร้างวิตามินบี 3
– ป้องกันอาการซึมเศร้า
– นอนไม่หลับ
– มีอาการซึมเศร้า
ทรีโอนีน (Threonine)– เสริมสร้างการเติบโตของร่างกาย
– ป้องกันการจับตัวของไขมันในตับ
– ร่างกายไม่เติบโต
– โลหิตจาง
ไอโซลิวซีน (Isoleucine)– เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
– ช่วยให้ตับทำงานในการขจัดสารพิษได้ดีขึ้น
– ช่วยการทำงานของระบบประสาท
– ร่างกายไม่เติบโตและสมองทำงานช้ากว่าปกติ
ลิวซีน (Leucine)– ช่วยให้ตับทำงานได้ดีขึ้น– ภูมิต้านทานลดลงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine)– เป็นต้นกำเนิดเม็ดสีเมลานินในเส้นผม และผิวหนัง
– เป็นสารถ่ายทอดข้อมูลจากสมองสู่ประสาท ช่วยให้มีความทรงจำดี
– ผมจางลง ทำให้ผมเร็วขึ้น ผมหงอกก่อนวัย ผมร่วงแห้งแตกปลาย เล็บฉีก ผิวหนังหยาบ
– สมองทำงานช้ากว่าปกติ
วาลีน (Valine)– เสริมสร้างการเติบโตของร่างกาย
– รักษาสมดุลไนโตรเจนในเลือด
– ร่างกายไม่เจริญเติบโต
*ฮีสทีดีน (Histidine)– จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก
– ช่วยการทำงานของระบบประสาท
– ร่างกายไม่เจริญเติบโต และเด็กมีพัฒนาการช้ากว่าวัย

*ฮีสทีดีน เป็นกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับเด็กและทารกเท่านั้น

กรดอะมิโนไม่จำเป็น (Non-Essential Amino Acid) 11 ชนิด

กรดอะมิโนหน้าที่
กรดกลูตามิก (Glutamic acid)– เชื้อเพลิงให้แก่สมอง
– ช่วยจัดการกับแอมโมเนียส่วนเกิน
กรดแอสพาร์ติก (Aspartic acid)– ช่วยในการขับแอมโนเมียซึ่งเป็นสารอันตรายออกจากร่างกาย
– ช่วยปกป้องระบบประสาทส่วนกลาง
– ช่วยเพิ่มความทนทานต่อการเหนื่อยล้าได้ด้วย จึงเหมาะกับนักกีฬาเป็นอย่างมาก
กลูตามีน (Glutamine)– เป็นส่วนหนึ่งของกลูต้าไธโอน
– มีส่วนช่วยให้ฉลาดขึ้น
– ช่วยเพิ่มระดับของโกรทฮอร์โมน
ไกลซีน (Glycine)– ช่วยรักษาภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย
– รักษาโรคกล้ามเนื้อฝ่อลีบ
– รักษาภาวะน้ำตาลต่ำ
ซิสเทอีน (Cysteine)– ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
– มีความจำเป็นสำหรับทารกและผู้สูงอายุ
เซรีน (Serine)– ช่วยเผาผลาญไขมัน
– เพิ่มการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ไทโรซีน (Tyrosine)– ช่วยส่งเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์
– ช่วยรักษาอาการซึมเศร้า
โพรลีน (Proline)– ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
– ช่วยปรับโครงสร้างผิว
อะลานีน (Alanine)– ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
– ลดอาการต่อมลูกหมากโต
อาร์จินีน (Arginine)– กระตุ้นการหลังโกรทฮอร์โมน
– เพิ่มจำนวนอสุจิ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
– ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย
– ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี
แอสพาราจีน (Asparagine)– กรดอะมิโนไม่จำเป็นซึ่งร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองได้

กรดอะมิโนเพิ่มเติม 3 ชนิด (ที่เราเห็นบ่อย ๆ และมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย)

  • ซิสทีน (Cystine) ช่วยเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างโปรตีนในร่างกาย
  • ทอรีน (Taurine) ช่วยส่งเสริมการมองเห็น ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ช่วยให้หัวใจทำงานได้แข็งแรงขึ้น ช่วยรักษาโรควิตกกังวลและโรคลมชักได้ ความจริงแล้วทอรีนมีคุณประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย

อ่านบทความเพิ่มเติมของทอรีนได้ : คลิกอ่านที่นี่

  • ออร์นิทีน (Ornitine) ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินเพื่อมาช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ นักเพาะกายจึงนิยมมาก
taurine banner

ทั้งนี้แม้ว่าร่างกายสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนบางชนิดขึ้นมาได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วร่างกายของแต่ละคนก็มีความสมบูรณ์ที่แตกต่างกัน ความต้องการกรดอะมิโนของแต่ละคนเองก็ไม่เท่ากัน เราจึงไม่สามารถบอกได้ว่าการรับประทานเพียงแค่กรดอะมิโนจำเป็นเท่านั้นจะเพียงพอต่อร่างกายจริง ๆ นอกจากนี้ในปัจจุบันมีการนำกรดอะมิโนบางชนิดมาใช้ในการรักษาโรคของผู้ป่วยอีกด้วย

เราจะเห็นได้ว่ากรดอะมิโนนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างร่างกาย (เนื้อเยื่อ) ยังเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย รวมถึงยังช่วยในการเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายอีกด้วย อาจพูดได้ว่า กรดอะมิโนมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับร่างกายในทุกด้านเลยก็ว่าได้ หากร่างกายของเราขาดกรดอะมิโนแล้วก็อาจจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อระบบการทำงานของร่างกายได้ ดังนั้นเราควรใส่ใจในการบริโภคกรดอะมิโนอยู่เสมอ ในปัจจุบัน ผู้ผลิตหลายรายหันมาให้ความใส่ใจเกี่ยวกับกรดอะมิโนมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่ามีการนำกรดอะมิโนชนิดต่าง ๆ เข้ามาเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สกินแคร์ หรือแม้แต่ในเครื่องดื่ม ซึ่งถือเป็นข้อดีสำหรับพวกเราที่มีตัวเลือกในการบริโภคที่หลากหลายมากขึ้น


อ้างอิง

  • https://www.otsuka.co.jp/en/nutraceutical/about/nutrition/sports-nutrition/essential-nutrients/proteins.html
  • https://myndandbody.com/everything-you-need-to-know-about-the-9-essential-amino-acids
  • https://feedco.co.uk/latest-news/amino-acids-important